วิธีทำปุ๋ยหมักตะกร้า ทำง่าย ประหยัดงบ

    tleaha megazy

    เผยแพร่ 27 กันยายน 2566

    แม้ว่าดินจะอุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่ถ้าไม่มีการบำรุงเพิ่มเติมเลย คงเป็นไปไม่ได้ที่พืชผักจะเจริญเติบโตสวยงามและผลิดอกออกผล โดยเฉพาะพืชผักที่มีอายุหลายปี เพราะเมื่อรากพืชดูดธาตุอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโต ธาตุอาหารในดินย่อมลดลง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ปุ๋ยกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูก

    ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ สำหรับการทำเกษตรในเมืองหรือการปลูกผักกินเองในสวนหลังบ้าน ซึ่งเน้นเรื่องการผลิตอาหารที่ปลอดภัยไร้สารเคมี ในบทความนี้จึงแนะนำเฉพาะวิธีทำปุ๋ยอินทรีย์อย่างง่าย สำหรับใช้เองแบบประหยัดกันค่ะ
    ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบที่มาจากอินทรียวัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น ช่วยปรับปรุงให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ดินร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี และช่วยให้จุลินทรีย์ในดินทำงานได้ดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่
    ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น ทั้งในรูปของเหลวและของแข็ง ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชอย่างรวดเร็ว เพราะมีธาตุอาหารที่ละลายน้ำง่าย ส่วนปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยคอกจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัตว์ วิธีการเลี้ยง อาหารที่กิน วัสดุรองพื้นคอก และการเก็บรักษา
    ปุ๋ยหมัก ได้จากการหมักอินทรียวัตถุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษใบไม้ กิ่งไม้ ฟางข้าว หญ้า เปลือกถั่ว เศษผักและเศษอาหารที่เหลือทิ้งจากการรับประทาน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย
    ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชวงศ์ถั่ว เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว โสน รอจนต้นถั่วออกดอกซึ่งเป็นช่วงที่มีน้ำหนักสดและปริมาณธาตุไนโตรเจนสูงสุดจึงไถกลบดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชต่อไป

    ปุ๋ยหมักทำเองได้ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

    ปุ๋ยหมักแต่ละประเภทมีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาหมัก เช่น ปุ๋ยหมักจากพืชตระกูลถั่วมีธาตุไนโตรเจนสูงและมีอัตราการย่อยสลายเร็วกว่าปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ดังนั้นเมื่อทำปุ๋ยหมักจึงต้องเติมจุลินทรีย์หรือน้ำหมักชีวภาพเพื่อเร่งให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น

    หลายคนเข้าใจว่าการทำปุ๋ยหมักใช้เองต้องเตรียมอุปกรณ์ยุ่งยากและใช้พื้นที่มาก แต่ความเป็นจริงแล้วเราสามารถนำเศษอาหาร เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เศษผัก กิ่งไม้ ใบไม้ และเศษซากวัชพืชมาทำปุ๋ยได้ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยคอกและอุปกรณ์ในครัวเรือนที่หาได้ง่าย แค่มีการจัดการที่ดี ทั้งเรื่องสัดส่วนของวัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมัก

    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ เพียงเท่านี้ก็ได้ปุ๋ยหมักมาใช้ในเวลาไม่นาน แถมยังไม่ต้องซื้อด้วย ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหมักในตะกร้า

    ปุ๋ยหมักตะกร้า แนะนำโดย อาจารย์เกศศิรินทร์ แสงมณี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

    มาทำปุ๋ยกัน
    ความคิดเห็น